เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

ว่านจูงนางตาม

Geodorum terrestre (L.) Garay
Epidendrum terrestre L.; Epidendrum tuberosum L.; Phaius terrestris (L.) Ormerod; Geodorum citrinum Andrews
ว่านจูงนาง, ว่างจูงนางหลวง
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้ดิน หัวใต้ดินทรงรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 2.7 ซม. ใบ จำนวน 2-3 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรี ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 7-10 ซม. ยาว 22-30 ซม. ปลายใบแหลม ช่อดอก ออกที่โคนหัวใต้ดิน แบบช่อกระจะ สั้นกว่าลำต้น จำนวน 7-9 ดอก ดอก บานเต็มที่กว้าง 2.5-4 ซม. สีขาวครีมถึงสีเหลืองแกมเขียว กลีบปากมีเส้นสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กลีบปากรูปไข่ โค้งคล้ายท้องเรือ ขอบกลีบม้วนงอ มีแคลลัสรูปตัววีกว้าง มักมีเส้นขรุขระกลางกลีบ
Terrestrial, corms triangular-ovoid, up to 2.7 cm in diameter. Leaves 2 - 3, elliptic-oblong to obovate-oblong, 7 - 10 cm wide, 22 - 30 cm long, apex acute. Inflorescence arising from basal node of pseudobulb, racemose, shorter than vegetative shoot, 7 - to 9-flowered. Flowers 2.5 - 4 cm across, creamy white to greenish-yellow with brown lines, sepals oblanceolate-oblong, petals oblanceolate- oblong, lip ovate, like boat-shaped, margin revolute, with V-shape callus and verrucose keels.
พบกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทยตามป่าดิบเขตร้อน ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 0-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม. การกระจายพันธุ์: บัคลาเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Widely distributed throughout Thailand in tropical evergreen forest, dry evergreen forest, mixed deciduous forest and hill evergreen forest; 0 - 1,200 m alt. Flowering in May - August. Distribution: Bangladesh and Southeast Asia
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

1554 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: